โคเอนไซม์ คิวเทน (Co-enzyme Q10)

โคเอนไซม์คิวเทน (Co-enzyme Q10)

สาวๆ ยุคนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่รู้จักโคเอนไซม์คิวเทน หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า
คิวเทน มีหน้าที่สำคัญคือ ลดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
Q10 เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) และเป็นสารธรรมชาติที่
ร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง ดังนั้นจึงนำ Q10 มาใช้เป็น
เครื่องสำอางสำหรับลดการเกิดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากแสงแดด (Photoaging)
กล่าวคือ ผิวหนังจะมีหน้าที่ในการป้องกันสารพิษ เชื้อโรค และรังสีอุลตราไวโอเลต (Ultraviolet)
จากแสงอาทิตย์ มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของ Q10 ต่อการลดริ้วรอยว่า
สามารถทำให้ความลึกของริ้วรอยลดลง ซึ่งหมายถึง ทำให้ริ้วรอยนั้นตื้นขึ้นได้
โดยให้กลุ่มทดลองใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ Q10 อยู่ 0.3% ทารอบดวงตาเป็นเวลานาน 6 เดือน
พบว่า ความลึกของริ้วรอยลดลงถึง 27% รวมถึงช่วยในการเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

โคเอนไซม์คิว10 เป็นสารคล้ายวิตามินชนิดหนึ่ง พบมากในหัวใจ ตับ ไต ตับอ่อน พบได้ในอาหารเช่น เนื้อสัตว์ หรือ อาหารทะเล

coQ10 มักมีการใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ


ผู้ที่มักมีระดับ CoQ10 ต่ำกว่าคนทั่วไป

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ
  • โรคเกี่ยวกับฟัน
  • โรคติดเชื้อ HIVs
  • ผู้ที่รับประทานยาที่อาจทำให้ระดับ coQ10 ต่ำลง ได้แก่
    • ยาลดไขมันกลุ่มสเตติน (Statin drug) เช่น atorvastatin (Lipitor), lovastatin (Mevacor), pravastatin (Pravachol) and simvastatin (Zocor)
    • ยาเบาหวาน เช่น Glipizide, Glyburide, Tolazamide. Tolbutamide
    • ยาลดไขมันกลุ่มไฟเบรท เช่น gemfibrozil (Lopid)
    • ยาโรคหัวใจ หรือ ความดันโลหิตสูง เช่น atenolol (Tenormin), labetolol (Normodyne), metoprolol (Lopressor or Toprol), and propranolol (Inderal), Clonidine
    • ยาขับปัสสาวะ เช่น hydrochlorothiazide (HCTZ), indapamide and metolazone
    • ยาต้านเศร้า คลายเครียด เช่น amitriptyline (Elavil), doxepin (Sinequan), and imipramine (Tofranil)

Benefits

โคเอนไซม์คิว10 ช่วยอย่างไร ?

โคเอนไซม์คิว10 มีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตพลังงานของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระ


โคเอนไซม์คิว10 & โรคต่างๆ

โคเอนไซม์คิว10 อาจช่วยในโรคต่างๆดังนี้

  • ภาวะขาดโคเอนไซม์คิว10 พบภาวะนี้ได้น้อย อาการที่เกิดขึ้น เช่น อ่อนเพลีย ชัก
  • จอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Age-related macular degeneration) พบว่าการกิน coQ10 ร่วมกับ แอลคาร์นิทีน โอเมก้า-3 ช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นในผู้ที่เป็นภาวะนี้ได้
  • หัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) บางงานวิจัยพบว่า ระดับ coQ10 ที่ต่ำอาจสัมพันธ์กับภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างไรก็ตาม การให้ coQ10 เดี่ยวๆเสริมไม่พบว่าลดการเกิดภาวะนี้ได้ แต่บางงานวิจัยพบว่าการกิน coQ10 เสริมร่วมกับยาและการรักษาหลักไปด้วยอาจมีประโยชน์
  • ความดันโลหิตสูง (High Blood Pressure) งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่าการกิน coQ10 เดี่ยวๆ รวมถึงการกินร่วมไปกับยาลดความดัน สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
  • ปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน (Diabetic neuropathy) การศึกษาพบว่าการกิน coQ10 ช่วยลดการทำลายปลายประสาทจากเบาหวาน และ อาการปวดปลายประสาทจากเบาหวาน
  • โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV/AIDS) พบว่าการกิน coQ10 เสริมในผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อเอชไอวี ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นได้
  • ปวดศีรษะไมเกรน พบว่าการกิน coQ10 ช่วยป้องกันการเป็นไมเกรนได้ โดยลดความถี่ลงได้ประมาณ 30% และลดจำนวนวันที่เป็นได้ประมาณ 45% โดยอาจต้องใช้เวลา 3 เดือนหลังเริ่มรับประทานกว่าจะได้ผลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การกิน coQ10 หลังจากเกิดอาการแล้วไม่พบว่าช่วยลดอาการได้
  • หัวใจวายเฉียบพลัน พบว่าการกิน coQ10 ตั้งแต่ 3 วันหลังจากเกิดภาวะนี้ และกินต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี พบว่าสามารถลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันซ้ำได้
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) พบว่าผู้ที่กิน coQ10 อาจช่วยชะลอความเสื่อมของสมองในผู้ที่เริ่มต้นเป็นพาร์กินสันได้ อย่างไรก็ตาม การกิน coQ10 หลังจากเป็นไประยะหนึ่งแล้วอาจไม่ได้ช่วยลดอาการดังกล่าว
  • ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

Safety

  • การกิน coQ10 ในผู้ใหญ่ทั่วไปน่าจะปลอดภัย ผลข้างเคียงพบได้น้อย เช่น จุกแน่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • นอกจากนี้ยังอาจมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต จึงควรตรวจวัดความดันโลหิตก่อนการรับประทาน
  • หากมีอาการดังกล่าวสามารถแบ่งเป็นกินวันละ 2-3 ครั้งแทนที่จะกินมื้อเดียวมากๆ สามารถลดผลข้างเคียงดังกล่าวได้
  • ควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาต่างๆเหล่านี้
    • ยาเคมีบำบัด เนื่องจาก coQ10 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการกังวลว่าอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัดลดลงได้
    • ยาลดความดัน เนื่องจาก coQ10 อาจทำให้ความดันโลหิตลดลง การกินร่วมกับยาลดความดันอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงมากเกินไปได้
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Warfarin เนื่องจาก coQ10 อาจช่วยในการแข็งตัวของเลือด การกิน coQ10 อาจทำให้ประสิทธิภาพในการต้านการแข็งตัวของเลือดของยา Warfarin ลดลงได้

How to Choose / Use

ขนาดยาที่ใช้ในงานวิจัยด้านต่างๆดังนี้

  • ภาวะขาดโคเอนไซม์คิว10 กิน 150 mg ต่อวัน
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ใหญ่ 100 mg ต่อวัน โดยแบ่งทานเป็น 2-3 เวลา
  • ลดการเป็นซ้ำในผู้ที่เพิ่งเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ 120 mg ต่อวัน โดยแบ่งทานเป็น 2 เวลา
  • ความดันโลหิตสูง 120-200 mg ต่อวัน โดยแบ่งทานเป็น 2 เวลา
  • ป้องกันปวดศีรษะไมเกรน 100 mg วันละ 3 เวลา
  • โรคพาร์กินสัน มีงานวิจัยในขนาด 300,600,1200,2400 mg ต่อวัน โดยแบ่งทานเป็น 3-4 ครั้ง
  • ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย 200-300 mg ต่อวัน
  • โรคติดเชื้อ HIV / AIDs 200 mg ต่อวัน