ข้อมูลเกี่ยวกับการทำสบู่

สบู่ช่วยรักษาความสะอาดให้ร่างกาย และช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค การทำสบู่ใช้เอง ภายในบ้าน สามารถเลือกส่วนผสมสมุนไพร ต่างๆได้ตามต้องการ ไม่มีสารเคมีส่วนเกิน ใช้ ซักผ้า และล้างจานได้ แถมยังประหยัด เงินได้อีกต่างหาก

ส่วนผสมการทำสบู่สมุนไพร
1. น้ำมันพืช 500 กรัม
2. โซดาไฟ 65 กรัม
3. น้ำ 150 กรัม
4. หัวน้ำหอม ช้อนชา ( เลือกกลิ่นตามต้องการ )
5. ผงขมิ้น หรือ สมุนไพรอื่น  ตามต้องการ ช้อนชา

ขั้นตอนในการทำสบู่
ละลายโซดาไฟ 65 กรัม ลงในน้ำ 150 กรัม จากนั้นค่อยๆ เทสารละลาย
โซดาไฟใส่ลงในน้ำมันพืช 500 กรัม โซดาไฟจะทำปฏิกิริยากับน้ำมันพืช กลายเป็นสบู่จนหมด ใช้ไม้พายกวนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน นานประมาณ ชั่วโมงครึ่ง จึงเติม ผงขมิ้น และกลิ่นน้ำหอม กวนต่อจนเนื้อสบู่เข้ากันดีแล้ว เทส่วนผสมลงในแบบ พิมพ์ปล่อยไว้ 1 – 2 วัน สบู่จะแข็งตัวสามารถแกะออกจากแบบได้ จากนั้นเก็บบ่มไว้อีก 2-4 สัปดาห์จึงนำไปใช้ได้
สบู่ที่ดีเนื้อสบู่ควรจะแข็ง มีสีตามธรรมชาติของส่วนผสม สะอาด กลิ่นดี สามารถขูดเนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง  ได้ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป สบู่ที่ได้จากการผลิตในครัวเรือนแบบนี้นอกจากจะได้คุณค่าของสมุนไพรแล้ว ยังอุดมไปด้วยกลีเซอรอล ซึ่งเป็นสารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวของร่างกาย

ข้อเท็จจริงในเรื่องของโซดาไฟ
บางคนพอเห็นว่าในสูตรมีโซดาไฟ ก็ตั้งท่ากลัวกันไว้ก่อน เพราะชื่อมันออกจะดุดัน โซดาไฟมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์ มีสูตรเคมี คือ NaOH มีฤทธิ์เป็นเบส(ด่างส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเกร็ดสีขาวแต่ผู้ผลิตบางรายอาจทำเป็นเม็ดหรือเป็นผงก็ได้ เมื่อเทสารละลายโซดาไฟลงในน้ำมันหรือไขมัน จะเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า สะปอนนิฟิเคชัน (Saponification) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสไขมันและน้ำมันด้วยเบส เกิดเกลือของไขมัน (สบู่กับกลีเซอรอล ดังนี้

โดยที่ คือ หมู่ไฮโดรคาร์บอน ตามแต่ชนิดของน้ำมันที่นำมาใช้ ดังนั้นจึงอาจเขียนโครงสร้างของสบู่ได้ดังนี้

และจะเห็นได้ว่า หลังการทำปฏิกิริยาเสร็จ จะไม่มีโซดาไฟหลงเหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์สบู่
ในทางอุตสาหกรรม กลีเซอรอลซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการทำสบู่จะถูกแยกออกจากสบู่ และนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเป็นสารให้ความชุ่มชื้น ใช้เป็นสารให้รสหวานในอาหารหรือยา รวมทั้งใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมพลาสติก

ข้อควรระวังในการใช้โซดาไฟ !
1.โซดาไฟมีพิษกัดผิวหนังและทำให้เกิดแผลได้ ไม่ควรให้ถูกผิวหนัง ถ้าถูกต้องรีบล้างทันทีด้วน้ำ เปล่าแล้วล้างด้วยน้ำส้มอีกครั้ง
2.ถ้ากลืนโซดาไฟลงไป ให้รีบดื่มน้ำส้ม น้ำมะนาว หรือมะกรูดตามลงไปให้มาก ๆ แล้วรีบไปพบแพทย์
3. การละลายโซดาไฟ ให้ค่อยๆใส่โซดาไฟลงในน้ำ ห้ามใส่น้ำลงในโซดาไฟเด็ดขาด!
4.เก็บโซดาไฟ ให้พ้นมือเด็ก

ต้นทุนในการทำสบู่
(จำนวน ครึ่งกกหรือประมาณ ก้อนสบู่ในท้องตลาด )
1.โซดาไฟ 3.-บาท
2.น้ำมันพืช 22.-บาท
3.หัวน้ำหอม 4.-บาท
4.ผงสมุนไพร 5.-บาท
รวม 34.- บาท
ค่าแรงไม่คิด เพราะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ของอื่นๆ หาเอาเองในครัวจ้ะ ]

 


 

สูตรพื้นฐานและวิธีการผลิตสบู่ก้อน

 

วิธีคำนวณสูตรน้ำมัน               

น้ำมันมะพร้าว   120  กรัม ใช้โซดาไฟ 20.304 (16.92 x

120/100) กรัม

น้ำมันปาล์ม      80  กรัม         ใช้โซดาไฟ 10.448 (13.06  x

80/100) กรัม

น้ำมันมะกอก     300 กรัม         ใช้โซดาไฟ 37.38 (12.46 x

300/100)

รวมไขมัน         500 กรัม        

รวมโซดาไฟ      68.132 กรัม    

น้ำที่ใช้  175-190 ซีซี   

 

วิธีการและเทคนิคการผลิตสบู่ก้อน

1        เตรียมแม่พิมพ์สบู่

2        เตรียมเครื่องมือทั้งหมด

3        ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน

สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา

4        ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง

5        ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ

เติมด่างลงในน้ำ อย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิประมาณ

40-45 องศาเซลเซียส

6        ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมกัน

วางบนเครื่องอังไอน้ำ หรือลังถึงวัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส

ยกลง

7        เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5

อีกครั้ง

8        เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน

ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5

นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงพิมพ์

9        ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์

แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน

10      ตรวจสอบ ph บริเวณผิวสบู่

และเนื้อในผิวสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตรถ้ามีค่า ph อยู่ระหว่าง 8-10

สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง

หากเนื้อในและผิวมีค่า ph เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ

แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเหลือเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้

เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน

11      ห่อกระดาษ

หรือบรรจุภาชนะแจกจ่ายให้เพื่อน ๆ

ได้นะคะ


น้ำมันมะพร้าว 175g.
น้ำมันมะกอก 100g. –น้ำมัน งา. 50g.
น้ำมันโจโจ้บาร์ 90g. –น้ำมันปาลม์ 50g.
โซเดียมไฮดรอกไซด์ 66.31g
น้ำมันมเล็ดทานตะวัน 90 g
น้ำกลั่น 190g(SF3%) หรือ น้ำแร่ -Essential oil

น้ำมันมะพร้าว  >>  ให้สบู่ที่แข็งและมีฟองเป็นครีม แต่อาจจะทำให้ผิวแห้ง จึงต้องใช้น้ำมันอื่นๆร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น

 

น้ำมันเมล็ดปาล์ม >> ให้สบู่แข็งมาก มีความคงทน  ทำความสะอาดได้ดี 

 

น้ำมันปาล์ม >>  ให้สบู่เป็นก้อนแข็ง มีความคงทน ฟองเป็นครีม

 

น้ำมันมะกอก >>  ให้ เนื้อสบู่ที่นุ่มนวลต่อผิวพรรณ มีสีออกเหลือง เนื้อสบู่ค่อนข้างนิ่ม ฟองเป็นครีมละเอียด อุดมด้วยวิตามินอีให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ

 

น้ำมันงา >>  ให้สบู่สีขาวอมชมพูค่อนข้างนิ่ม ฟองนุ่มนวล ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณมาก

 

น้ำมันถั่วเหลือง >>  เป็น น้ำมันที่ใช้เป็นส่วนผสมในสบู่เพื่อเพิ่มความนุ่มนวล เพิ่มวิตามินอีและความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ เนื้อสบู่นิ่ม ฟองละเอียด แต่ฟองไม่มาก

 

น้ำมันรำข้าว >>ได้สบู่สีขาวอมเหลือง เนื้อสบู่นิ่ม ฟองน้อยละเอียด ให้ความชุ่มชื้นสูง

 

น้ำมันเมล็ดทานตะวัน >>สบู่จะมีสีขาวอมเหลือง เนื้อสบู่ไม่แข็งมาก ฟองไม่มาก เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณสูง

 

น้ำมันข้าวโพด >>สบู่ที่ได้มีสีขาวอมเหลือง เนื้อสบู่ไม่แข็งมาก ฟองละเอียด

 

น้ำมันละหุ่ง >> สบู่มีฟองมากขึ้น  เนื้อสบู่นิ่ม เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ

 

เชย์บัตเตอร์ >>  ใด้สบู่แข็ง เพิ่มความนุ่มนวล ฟองครีม เพิ่มค่าบำรุงแก่ผิวพรรณ 

 

เมื่อทราบคุณสมบัติของน้ำมันชนิดต่างๆแล้ว  ก่อนจะผลิตสบู่ ก็ต้องออกแบบ ว่าเราต้องการสบู่แบบไหน ให้สบู่มีคุณสมบัติอย่างไร ในกรณีของ omsiam ต้องการสบู่ที่มีค่าบำรุง หรือ Conditioning ค่อนข้างสูง ใช้แล้วผิวชุ่มชื้น  มีสุขภาพผิวที่ดี

ต้องการให้ค่าชำละล้างพอเหมาะ ใช้ได้ทุกสภาพผิว อาบแล้วผิวสะอาด แต่ไม่ทำแห้งตึง  

ต้องการให้สบู่เป็นก้อนแข็ง ไม่และง่ายจนเกินไป

ต้องการสบู่ที่มีฟองพอสมควร

ต้องการกลิ่นหอมพอสมควร ไม่ฉุนจนเกินไป

 

เมื่อได้คุณสมบัติสบู่ที่ต้องการแล้ว ก็มาวางสัดส่วนการใช้น้ำมัน โดยปกติ จะใช้สัดส่วนน้ำมันแข็งที่ 60 % ( ช่วยให้สบู่เป็นก้อนแข็งและ ทำความสะอาดผิว ) และใช้สัดส่วนน้ำมันอ่อนที่ 40% ( ช่วยเพิ่มค่าบำรุงผิว )

สัดส่วน 60:40 เป็นสัดส่วนมาตรฐาน ที่จะได้สบู่ที่พอดี คือ ก้อนแข็ง และ มีค่าบำรุงพอสมควร ( ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันด้วย )

หรือหากต้องการคุณค่าในการบำรุงผิวมากเป็นพิเศษ อาจใช้ในสัดส่วน 50:50 หรือ 40:60 ได้ แต่สบู่ก็จะมีความแข็งน้อยลงตามสัดส่วนน้ำมันแข็งที่ลดลง  และฟองก็อาจจะน้อยลงด้วย  (น้ำมันละหุ่ง สามารถเพิ่มฟองได้ )

 

น้ำมันที่ omsiam เลือกใช้ในการผลิตสบู่

น้ำมันแข็ง  ( ต้องการสบู่ก้อนแข็ง ฟอง และการทำความสะอาดผิว )

Palm oil

Coconut oil

Palm kernel oil

น้ำมันอ่อน ( ต้องการคุณค่าการบำรุงผิว เพิ่มความชุ่มชื้น )

Sunflower oil

Rice barnoil

Olive oil

Castor oil  ( ตัวนี้แม้ค่าบำรุงจะสูง แต่ omsiam ใส่เพื่อเพิ่มฟองเป็นหลัก  )


ส่วนผสมในการผลิตสบู่

1. น้ำ (water)

คุณภาพของน้ำที่ใช้ในการผลิตสบู่นั้นมีความสำคัญมาก น้ำกระด้างจะมีแร่ธาตุต่าง ๆ ปะปน ซึ่งจะแทรกแซงปฏิกิริยาของโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งอาจจะทำให้การผลิตสบู่ล้มเหลวได้ น้ำที่เหมาะสมในการผลิตสบู่จึงควรเป็นน้ำฝนที่สะอาด น้ำบริสุทธิ์ น้ำประปา ก็สามารถใช้ได้ แต่ควรเป็นน้ำที่สะอาด โดยควรจะกรองเศษผง และฝุ่นละอองที่ปะปนออกไปเสียก่อน

อุณหภูมิของน้ำที่จะใช้สำคัญน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิปรกติ คือ 18-24 องศาเซลเซียส ไม่ควรเย็นจนเกินไป และที่สำคัญไม่ควรเป็นน้ำร้อน เพราะระหว่างที่ผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์กับน้ำนั้น อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นจนเกือบถึง 100 องศาเซลเซียส ฉะนั้น หากน้ำที่นำมาใช้มีอุณหภูมิสูง ก็อาจจะทำให้เกิดการระเบิดได้

2. ไลย์ (lye) หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (sodium hydroxjde) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า คอสติกโซดา (caustic soda) หาซื้อได้จากร้านขายเคมีภัณฑ์รวมทั้งวิทยาศรมและศึกษาภัณฑ์ โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่นำมาใช้ควรเป็นโซเดียมไฮดรอกไซด์บริสุทธิ์ไม่มีสารอื่นเจือปน มิฉะนั้นอาจจะมีผลต่อการผลิตสบู่ได้

โซเดียมไฮดรอกไซด์มีลักษณะเป็นเม็ด หรือเกล็ดสีขาว มีคุณสมบัติเป็นด่างเข้มข้นที่มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน ดังนั้นจึงเป็นส่วนผสมที่เราต้องให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษระหว่างการผลิตสบู่ เพราะเป็นสารเคมีที่เป็นพิษและทำอันตรายต่อผิวหนังและร่างกายได้ นอกจากนั้นไอระเหยของมันก็ไม่ควรสูดดมเข้าไป เพราะเป็นอันตราย หากใช้มันด้วยความเข้าใจ และระมัดระวังก็จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น จึงไม่ต้องกังวลมากเกิดไป (ดูข้อควรระวังในการผลิตสบู่)

3. น้ำมัน (oils)

น้ำมันหรือไขมันทั้งจากสัตว์และจากพืชหลากหลายชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ได้ น้ำมันแต่ละชนิดก็จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

ไขมันวัว จะให้สบู่ที่แข็ง สีขาว อายุการใช้งานนานและมีฟองเล็กๆ ส่วนใหญ่มักจะต้องผสมกับน้ำมันอื่น ๆ ด้วย เพื่อจะให้สบู่มีฟองและนุ่มนวลมากขึ้น

ไขมันแกะ ให้สบู่ที่แข็ง เปราะและฟองน้อย จึงมักจะใช้ร่วมกับน้ำมันอื่น

ไขมันไก่/ไขมันหมู สบู่ที่ได้จะเละจึงต้องใช้ร่วมกับน้ำมันอื่น ๆ

น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่ถูกนำมาใช้ผลิตสบู่มาเป็นเวลานานแล้ว สบู่ที่ผลิตจากน้ำมันมะพร้าวจะแข็งและมีฟองเป็นครีม และมักจะทำให้ผิวแห้ง จึงต้อใช้น้ำมันอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น

น้ำมันปาล์ม จะให้สบู่ที่นุ่มนวลมีฟองที่คงทนอยู่นาน แต่ก็ทำให้ผิวแห้งเหมือนกับน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันละหุ่ง สกัดจากเมล็ดละหุ่ง เป็นน้ำมันที่ใช้เพิ่มคุณสมบัติความชุ่มชื้นและนุ่มผิวแก่สบู่ ช่วยให้ผิดนุ่ม น้ำมันละหุ่งทำให้สบู่มีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก

น้ำมันมะกอก ในการผลิตสบู่ควรใช้น้ำมันมะกอกที่ใช้ในการแต่งผม และมักจะมีราคาแพง น้ำมันมะกอกทำให้ได้สบู่ที่แข็งใช้ได้นาน และยังให้ฟองเป็นครีมนุ่มนวลมาก และไม่ทำให้ผิวแห้ง

น้ำมันจมูกข้าวสาลี จมูกข้าวสาลีเป็นแหล่งที่ให้วิตามินอีมากที่สุดอย่างหนึ่ง จึงใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มเติม ให้สบู่มีความชุ่มชื้น มีฟองมากน่าใช้และไม่ทำให้ผิวแห้ง

4. ส่วนผสมอื่น ๆ

หลังจากที่สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ถูกผสมเข้ากับน้ำมันแล้ว เราสามารถใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มชนิดและคุณสมบัติพิเศษให้แก่สบู่

นมแพะ อาจใช้นมแพะผสมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์แทนน้ำได้ จะทำให้ได้สบู่ที่นุ่มนวลมาก มีฟองครีมมาก

กลีเซอรีน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและปกป้องผิว

5. น้ำมันหอมระเหย (fragrant essencial oil) สกัดได้จากใบ ดอก ผล เปลือก และรากของสมุนไพรและต้นไม้ นานาชนิด ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค นอกจากนั้น ยังช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้แก่สบู่อีกด้วย น้ำมันหอมระเหยมักจะเข้มข้น จึงควรใช้ในปริมาณไม่มาก เพราะบางชนิดหากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ (ดูส่วนผสมธรรมชาติที่ได้ในเครื่องสำอาง)

มีข้อควรคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนผสมอื่น ๆ เหล่านี้ ควรใช้ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 20 ของปริมาณน้ำมันที่ใช้ในการผลิตสบู่แต่ละครั้ง และควรจะเติมลงไปก่อนที่จะเทสบู่ลงแบบ ไม่ควรรับผสมไปก่อนนาน ๆ เพราะจะทำให้คุณสมบัติถูกทำลายไป เพราะฤทธิ์ของคอสติกโซดา

           กรรมวิธี

           สบู่ธรรมชาติ (soap) เกิดจากการทำปฎิกิริยาทางเคมีระหว่างสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์กับน้ำมันซึ่งอาจจะเป็น น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ก็ได้

การผลิตสบู่ธรรมชาติเป็นการง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหากได้ทดลองทำจากจำนวนน้อย ๆ และฝึกฝนไปเรื่อย ๆ ก็จะชำนาญได้ไม่ยากนัก จนถึงขนาดสามารถผลิตเป็นอุตสาหกรรมได้เลยทีเดียว

สบู่ผลิตขึ้นจากส่วนผสมพื้นฐาน 3 อย่าง คือ น้ำ ไลย์ (lay) หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ และไขมัน (น้ำมัน) เมื่อไลย์ผสมกับน้ำเป็นสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ถูกนำไปผสมกับไขมัน ปฏิกิริยานี้เรียกว่า Saponification ซึ่งจะให้ผลผลิตสุดท้ายที่เป็นส่วนผสมของสบู่ 5 ส่วน และกลีเซอรีน 1 ส่วน

ในสบู่ธรรมชาติกลีเซอรีนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสบู่ธรรมชาติจะยังคงอยู่ในสบู่ มีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้น และทำให้ผิวพรรณนุ่มนวล ในขณะที่สบู่ที่ผลิต โดยโรงงานที่เราซื้อจากร้านค้าและซุปเปอร์มาเก็ดทั่วไปมักจะสกัดเอากลีเซอรีนออกไปเหลือแต่ตัวสบู่ล้วน ๆ ทำให้ไม่นุ่มผิว

กระบวนการที่นำมาแนะนำในการผลิตสบู่ธรรมชาติในที่นี้เป็นกระบวนการผลิตแบบเย็น (cold process method) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ผลิตสบู่ธรรมชาติในอดีตโดยการนำสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ผสมลงไปในน้ำมัน แล้วกวนให้จับตัวข้นก่อนที่จะเทลงในแบบให้จับตัวแข็งเป็นสบู่

นอกจากวิธีการผลิตสบู่แบบกระบวนการเย็นแล้ว ยังมีวิธีการผลิตอื่น ๆ อีก เช่น วิธีการผลิตโดยการปั้นด้วยมือ (hand-milled soap) วิธีการผลิตโดยการหลอมแล้วเท (meit and paur) แต่กระบวนการผลิตแบบเย็นจะเป็นวิธีการพื้นฐานก่อนที่จะนำสบู่ที่ได้ไปผลิตเป็นสบู่ด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป โดยสามารถใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เข้าไปเพื่อให้ได้สบู่ตามชนิดและคุณสมบัติที่ต้องการ

ให้สนิท และเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดอีกชั้นหนึ่ง

           เทคโนโลยีการผลิต / เครื่องมืออุปกรณ์

           อุปกรณ์ในการผลิตสบู่

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสบู่หลาย ๆ อย่างหาได้จากในครัว แต่ต้องจำไว้ว่าเมื่อนำไปใช้ผลิตสบู่แล้วจะนำมาปรุงอาหารอื่น ๆ ไม่ได้อีก อุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ อาจต้องซื้อเพิ่มเติม

โซเดียมไฮดรอกไซด์ จะทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี และโลหะอื่น ๆ บางชนิด จึงไม่ควรนำมาใช้ในการผลิตสบู่ ภาชนะที่ใช้จึงเป็นแก้ว พลาสติกแข็ง สแตนเลส หรือกระเบื้องทนความร้อน

ตราชั่งและถ้วยตวง เพื่อใช้วัดน้ำหนักและปริมาณของส่วนผสมเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะส่วนผสมที่ถูกต้องจะทำให้การผลิตสบู่ประสบความสำเร็จ และได้สบู่ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการ อย่างไรก็ตาม ควรจดบันทึก อัตราส่วนของส่วนผสมในการผลิตไว้ทุกครั้ง โดยเฉพาะหากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของส่วนผสม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุงการทำสบู่จนกว่าจะชำนาญ

เทอร์โมมิเตอร์ ใช้ในการวัดอุณหภูมิที่ถูกต้องของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และน้ำมันก่อนที่จะนำมาผสมกัน

อุปกรณ์ที่จำเป็น

–         เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน

–         เครื่องชั่งน้ำหนัก

–         ถ้วย ช้อนตวง

–         ชามแก้ว หรือชามอ่างสแตนเลส

–         เหยือกแก้วทนความร้อน

–         หม้อสแตนเลสสำหรับผสมสบู่

–         ช้อนสแตนเลส พลาสติกแข็ง

หรือไม้สำหรับใช้คน

–         ไม้พายยาว

–         แม่แบบสบู่

–         ถุงมือยาว

–         ผ้ากันเปื้อน

–         ผ้าปิดปาก

–         แว่นตา (ถ้าจำเป็น)

ข้อควรระวังในการผลิตสบู่

อย่าเทน้ำลงในโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้ค่อย ๆ เทโซเดียมลงในน้ำเพราะเมื่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ถูกผสมกับน้ำที่อุณหภูมิปรกติ อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นทันทีทันใดจนเกือบถึง 100 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 90-95 องศาเซลเซียส ถ้าเทน้ำลงในโซเดียมไฮดรอกไซด์อาจทำให้เกิด จุดร้อนแรง” (hot spot) ซึ่งสามารถหลอมละลายภาชนะได้ หรืออาจจะทำให้เกิดการระเบิดได้ จึงควรค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ

อย่าใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในภาชนะอลูมิเนียม เนื่องจากจะกัดอลูมิเนียม

ขณะที่ทำการผลิตสบู่ ควรสวมถุงมือยางและรองเท้า หากใส่เสื้อผ้าปกปิดผิวหนังได้มากที่สุดก็จะเป็นการดี ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก หรือแว่นตาก็จะดีมาก

อย่าให้เด็ก ๆ หรือสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ ๆ ขณะใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์

อย่าสูดไอระเหยของโซเดียมไฮดรอกไซด์ ควรทำการผลิตสบู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี

ควรมีน้ำส้มสายชูไว้ใกล้ ๆ เพื่อทำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นด่างมีความเป็นกลาง จะได้ไม่กัดกร่อน หากกระเด็นถูกผิวหน้าหรือร่างกาย หลังจากล้างด้วยน้ำส้มสายชูแล้วให้ล้างด้วยน้ำเย็นออกให้หมด

หากเกิดอุบัติเหตุกลืนกินโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้รีบดื่มนมแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

เก็บโซเดียมไฮดรอกไซด์ไว้ในที่ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ควรเปิดถุงไว้ ปิด

การผลิตสบู่ธรรมชาติ Natural Soap Making

ความเป็นมาของสบู่
สบู่ธรรมชาติ (soap) เกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี ระหว่างสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟกับน้ำมัน ซึ่งอาจเป็นน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ก็ได้ กระบวนการนี้เรียกว่า saponification ซึ่งทำให้ผลผลิตที่ได้กลายเป็นของแข็งลื่น มีฟอง ใช้ทำความสะอาดขจัดคราบสกปรกได้ดี

หลักการพื้นฐานในการผลิตสบู่ธรรมชาติ

สบู่ผลิตขึ้นจากส่วนผสมพื้นฐาน อย่าง คือ น้ำ ด่าง(โซดาไฟและไขมัน เมื่อด่างผสมกับน้ำ เป็นสารละลายด่างถูกนำไปผสมกับไขมัน ได้ผลผลิตเป็นสบู่ธรรมชาติซึ่งเป็นส่วนผสมของ สบู่ ส่วนและกลีเซอรีน ส่วน ในสบู่ธรรมชาติ กลีเซอรีนที่เกิดขึ้นจะยังคงอยู่ในสบู่ มีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้น และทำให้ผิวพรรณนุ่มนวล ซึ่งกระบวนการที่จะแนะนำในการผลิตสบู่ธรรมชาติในที่นี้ เป็นกระบวนการผลิตแบบเย็น (cold process method ) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการผลิตสบู่

ส่วนผสมในการผลิตสบู่
1.น้ำมัน (oils)
น้ำมันแต่ละชนิดที่นำมาใช้ในการผลิตสบู่ จะให้คุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ทั้งลักษณะทางกายภาพและประสิทธิภาพในการทำความสะอาด

1.1 น้ำมันมะพร้าว จะให้สบู่ที่แข็งและมีฟองเป็นครีม แต่อาจจะทำให้ผิวแห้ง จึงต้องใช้น้ำมันอื่นๆร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น

1.2 น้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันหลักอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผลิตสบู่ ให้สบู่เป็นก้อนแข็ง มีความคงทน ฟองมาก เป็นครีม ทนนานทำความสะอาดได้ดี

1.3 น้ำมันมะกอก ให้เนื้อสบู่ที่นุ่มนวลต่อผิวพรรณ มีสีออกเหลือง เนื้อสบู่ค่อนข้างนิ่ม ฟองเป็นครีมละเอียด อุดมด้วยวิตามินอีให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ

1.4 น้ำมันงา ให้สบู่สีขาวอมชมพูค่อนข้างนิ่ม ฟองนุ่มนวล ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ

1.5 น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่ใช้เป็นส่วนผสมในสบู่เพื่อเพิ่มความนุ่มนวล เพิ่มวิตามินอีและความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ เนื้อสบู่นิ่ม ฟองละเอียด แต่ฟองไม่มาก

1.6 น้ำมันรำข้าว ได้สบู่สีขาวอมเหลือง เนื้อสบู่นิ่ม ฟองน้อยละเอียด

1.7 น้ำมันเมล็ดทานตะวัน สบู่จะมีสีขาวอมเหลือง เนื้อสบู่ไม่สูงมาก ฟองไม่มาก เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ

1.8 น้ำมันข้าวโพด สบู่ที่ได้มีสีขาวอมเหลือง เนื้อสบู่ไม่แข็งมาก ฟองละเอียด

2.ด่าง (lye)หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ ควรใช้ชนิดที่บริสุทธิ์ไม่มีสารอื่นเจือปน มิฉะนั้นจะมีผลต่อการผลิตสบู่ได้

3.น้ำ น้ำที่เหมาะสมในการผลิตสบู่ควรเป็นน้ำฝนที่สะอาด หรือน้ำประปาที่สะอาด ไม่ควรเป็นน้ำกระด้าง

4 .ส่วนผสมอื่นๆ

หลังจากกวนส่วนผสมต่างๆจนได้เนื้อสบู่แล้ว เราสามารถใช้ส่วนผสมอื่นๆเพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มชนิดและคุณสมบัติพิเศษให้แก่สบู่ เช่น

นมแพะ อาจใช้นมแพะผสมกับโซดาไฟแทนน้ำ จะทำให้ได่สบู่ที่นุ่มนวลมาก มีฟองครีมมาก

กลีเซอรีล ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและปกป้องผิว

น้ำมันหอมระเหย ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคนิกจากนั้นยังช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับสบู่อีกด้วย น้ำมันหอมระเหยมักจะเข้มข้น จึงควรใช้ในปริมาณไม่มาก

สมุนไพร เพิ่มคุณสมบัติในด้าน ทนุถนอมผิวพรรณ รักษาโรคหรืออาการทางผิวหนัง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสบู่
• เทอร์โมมิเตอร์ อัน
• เครื่องชั่งน้ำหนัก
• ถ้วย ช้อนตวง
• ชามแก้วหรือชามสแตนเลส
• เหยือกแก้วทนความร้อน
• หม้อหรือชามสแตนเลสสำหรับกวนสบู่
• ช้อนสแตนเลส พลาสติกแข็งหรือไม้สำหรับคน
• ไม้พายยาว
• แม่แบบสบู่ (พิมพ์)
• ถุงมือยาง
• แว่นตา (ถ้าจัดหาได้)
• ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก (ถ้าจัดหาได้)

 

ข้อควรระวังในการผลิตสบู่

• อย่าเทน้ำลงในด่าง(โซดาไฟอาจจะทำให้เกิดการประทุหรือระเบิดได้
• อย่าใส่โซดาไฟไว้ในภาชนะที่เป็นสังกะสีหรืออลูมิเนียม
• อย่าสูดไอระเหยของโซดาไฟ ควรทำการผลิตสบู่ในที่ๆอากาศถ่ายเทได้ดี

การตั้งสูตรสบู่

ก่อนการลงมือทำสบู่ เราต้องออกแบบสบู่หรือตั้งสูตรสบู่ขึ้นมาก่อน ว่าสบู่ที่เราต้องการผลิตขึ้นจะให้มีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและประสิทธิภาพในการใช้เป็นอย่างไร โดยพิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้

• เนื้อสบู่ ต้องการแข็งมาก แข็งปานกลาง หรือค่อนข้างนิ่ม
• สี ขาว ขาวขุ่น ขาวอมเหลือง เหลือง
• ความคงทนของเนื้อสบู่ ทนนาน หรือละลายเร็ว
• ปริมาณฟอง ฟองมาก ปานกลาง หรือฟองน้อย
• ลักษณะฟอง ฟองโตอยู่นานหรือฟองละเอียด
• ประสิทธิภาพในการทำความสะอาด
• ความนุ่มนวลต่อผิวพรรณ
• ชุ่มชื้นแก่ผิว ถูแล้วผิวแห้งหรือชุ่มชื้น พิจารณาจากวิตามินอี

1. ชนิดของน้ำมันกับคุณสมบัติทางกายภาพและประสิทธิภาพของสบู่

ชนิดน้ำมัน เนื้อสบู่ สี ความคงทน ปริมาณฟอง ลักษณะฟอง การทำความสะอาด ความนุ่มนวลต่อผิว ความชุ่มชื้นต่อผิว

มะพร้าว แข็งกรอบ ขาว ทนนาน มาก โต อยู่นาน ดีมาก น้อย น้อย

ปาล์ม แข็ง ขาวนวล ทนนาน มาก อยู่นาน ดีมาก น้อย น้อย

มะกอก นิ่ม เหลือง ละลายเร็ว พอสมควร ละเอียดเป็นครีม ดี มาก มาก

งา นิ่ม ขาวนวล ละลายเร็ว พอสมควร ละเอียด ดี มาก มาก

ถั่วเหลือง นิ่ม ขาวอมเหลือง ปานกลาง พอควร ละเอียด พอใช้ พอควร พอควร

รำข้าว นิ่ม ขาวอมเหลือง ปานกลาง พอควร ละเอียด พอใช้ พอควร พอควร

ทานตะวัน นิ่ม ขาวอมเหลือง ปานกลาง พอควร ละเอียด พอใช้ พอควร พอควร

ข้าวโพด นิ่ม ขาวอมเหลือง ปานกลาง พอควร ละเอียด พอใช้ พอควร พอควร

ละหุ่ง นิ่มมาก ขาวอมเหลือง ละลายเร็ว มาก ละเอียด พอใช้ มาก มาก

คุณสมบัติต่างๆของสบู่นี้ ส่วนใหญ่จะขึ้นกับการเลือกชนิดของน้ำมันที่นำมาใช้ผลิตสบู่ ดังนั้นในการทำสบู่ก้อนหนึ่ง เราอาจเลือกใช้น้ำมันเพียงชนิดเดียวหรือใช้น้ำมัน 2-3 ชนิด หรือมากกว่ารวมกันได้ เพื่อให้ได้สบู่ที่มีคุณสมบัติตามที่เราต้องการ แล้วจึงกำหนดสัดส่วนของน้ำมันแต่ละชนิด โดยมีข้อแนะนำดังนี้

• น้ำมันหลัก น้ำมันมะพร้าว ปาล์ม 50-70 %

• น้ำมันรอง น้ำมันมะกอก งา ถั่วเหลือง รำข้าว ทานตะวัน เมล็ดข้าวโพด 30 – 50 %

• น้ำมันเสริม ละหุ่ง จมูกข้าวสาลี ไม่เกิน 10 %

สำหรับปริมาณของน้ำมันที่ใช้ทำสบู่ขึ้นอยู่กับปริมาณสบู่ที่ต้องการ โดยน้ำมันที่ใช้ทำสบู่ ส่วน เมื่อนำไปผสมกับน้ำด่าง จะได้เนื้อสบู่ 1.5 ส่วนโดยน้ำหนัก

2. ด่างและการคำนวณน้ำหนักด่าง

หลังจากได้ชนิดของน้ำมันที่จะใช้ทำสบู่แล้วกำหนดปริมาณและสัดส่วนของน้ำมันแต่ละชนิดแล้วจึงนำไปคำนวณหาปริมาณด่างและน้ำที่ต้องใช้ในการทำปฏิกิริยาตามขั้นตอนของการคำนวณสูตรสบู่ โดยด่างที่จะใช้นั้นคือโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์ส่วนปริมาณของด่างที่จะใช้นั้น ขึ้นอยู่กับค่า Saponification ของน้ำมันแต่ละชนิด Saponification คือปริมาณของด่างที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับไขมัน (หนัก กรัม)

ตารางค่า Saponification หรือปริมาณของด่าง (NaOH)

ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับไขมันชนิดต่างๆ (ไขมันหนัก กรัม)

ไขมัน หรือ น้ำมัน หนัก กรัม โซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟกรัม

ไขมันวัว 0.1292

ไขมันหมู 0.1276

น้ำมันมะพร้าว 0.1692

น้ำมันปาล์ม 0.1306

น้ำมันมะกอก 0.1246

น้ำมันงา 0.1266

น้ำมันรำข้าว 0.1233

น้ำมันเมล็ดทานตะวัน 0.1256

น้ำมันถั่วเหลือง 0.1246

น้ำมันข้าวโพด 0.126

น้ำมันละหุ่ง 0.1183

ขี้ผึ้ง 0.0617

ตัวอย่าง

สมมุติว่ากำหนดสูตรสบู่ ประกอบด้วยน้ำมันชนิดต่าง คือ น้ำมันมะพร้าว 300 กรัม + น้ำมันปาล์ม 300 กรัม + น้ำมันงา 400 กรัม จะคำนวณหาน้ำหนักด่างได้ ดังนี้

• น้ำมันมะพร้าว 300 กรัม ใช้ NaOH = 0.1692 x 300 = 50.76 กรัม

• น้ำมันปาล์ม 300 กรัม ใช้ NaOH = 0.1306 x 300 = 39.18 กรัม

• น้ำมันงา 400 กรัม ใช้ NaOH = 0.1266 x 400 = 50.64 กรัม

ดังนั้นน้ำมันทั้ง ชนิด(มะพร้าว 300 กรัม + ปาล์ม 300 กรัม + งา 400 กรัม)รวมกันเป็นน้ำมันทั้งหมด 1000 กรัม จะต้องใช้โซดาไฟเท่ากับ 50.76 + 39.18 + 50.64 = 140.58 กรัม

3.น้ำและการคำนวณหาปริมาณ

ปริมาณของน้ำที่ใช้ในการละลายด่าง หาได้จากสูตรดังต่อไปนี้

น้ำหนักน้ำ = ( น้ำหนักด่าง x 2.33 )

จากตัวอย่าง น้ำหนักด่างที่หาได้ = 140.58 กรัม

น้ำหนักน้ำ = ( 140.58 x 2.33 )

= 327.5514 หรือประมาณ 327.55 กรัม

ขั้นตอนการผลิตสบู่ธรรมชาติ

1. ตั้งสูตรสบู่โดยกำหนดชนิดและปริมาณของน้ำมัน หาปริมาณด่าง และคำนวณหาน้ำหนักน้ำ

2. ชั่งน้ำตามน้ำหนักที่คำนวณได้แล้วเทลงในชามแก้วหรือชามสแตนเลส แล้วชั่งด่างตามน้ำหนักที่คำนวณได้ เทลงในน้ำ ใช้ช้อนสแตนเลสคนจนด่างละลายจนหมด ขั้นตอนนี้จะเกิดความร้อนขึ้น อุณหภูมิของน้ำด่างจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 80-90 องศาเซลเซียส ตั้งทิ้งไว้ให้เหลืออุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส โดยการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดดู

3. ชั่งน้ำมันแต่ละชนิดตามน้ำหนักที่ต้องการแล้วเทลงรวมกันในชามหรือหม้อสแตนเลส นำไปอุ่นให้น้ำมันมีอุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส

4. ค่อยๆเทสารละลายด่างลงในน้ำมัน ใช้ไม้พายกวนส่วนผสมไปเรื่อย นานอย่างน้อย 30 นาทีหรือมากกว่านั้นตามชนิดของน้ำมันที่นำมาใช้ สบู่จะเริ่มจับตัวเหนียวข้นคล้ายนมข้นหรือครีมสลัด

5. ในขั้นตอนนี้หากต้องการใส่กลิ่น(น้ำหอมหรือน้ำมันหอมระเหยสี หรือสมุนไพร(ผงให้ใส่ในขั้นตอนนี้เลย โดยน้ำมันหอมระเหยใส่ประมาณ 2-3% ของน้ำหนักสบู่ สมุนไพรผง ประมาณ 1 % ของน้ำหนักสบู่

6. เทสบู่ที่กวนได้ลงในแบบหรือแม่พิมพ์ ตั้งทิ้งไว้ 1-2 วันสบู่จะจับตัวเป็นก้อนแข็ง จึงเอาออกจากแบบ ตัดเป็นก้อนตามขนาดที่ต้องการ เก็บต่อไปอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์จึงนำไปใช้หรือจำหน่ายต่อไป

ตัวอย่างสูตรพื้นฐานสำหรับการผลิตสบู่ธรรมชาติ

สูตรที่1
• น้ำ 130 กรัม
• โซดาไฟ 56 กรัม
• น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม

น้ำมันปาล์ม 80 กรัม
• น้ำมันมะกอก 200 กรัม

สบู่สูตรนี้เป็นสบู่สีขาวขุ่น แข็ง ให้ฟองมาก สามารถนำไปปรับปรุงเป็นสบู่ล้างหน้า สบู่อาบน้ำถูตัว สบู่สมุนไพร โดยการเติมส่วนผสมอื่นๆลงๆไป หลังจากนำออกจากพิมพ์ ตั้งทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์จึงนำไปใช้

สูตรที่2
• น้ำ 105 กรัม
• โซดาไฟ 45 กรัม
• น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม
• น้ำมันปาล์ม 60 กรัม
• น้ำมันละหุ่ง 10 กรัม
• น้ำมันมะกอกหรืองา 80 กรัม
• น้ำมันจมูกข้าวสาลี 40 กรัม

สบู่สูตรนี้เหมาะสำหรับผิวที่แพ้ง่าย จึงเหมาะสมที่จะนำไปปรับปรุงเป็นสบู่บำรุงผิวพรรณ เพิ่มความชุ่มชื้น สบู่ล้างหน้า หรือสบู่เด็ก สบู่สูตรนี้ให้ฟองมาก นุ่มนวลเป็นครีม มีสีเหลืองอ่อน หลังจากนำออกจากพิมพ์ ตั้งทิ้งไว้ 2 – 4 สัปดาห์จึงนำไปใช้

สูตรที่ 3
• น้ำ 140 กรัม
• โซดาไฟ 60 กรัม
• น้ำมันมะพร้าว 200 กรัม
• น้ำมันปาล์ม 60 กรัม
• น้ำมันมะกอก 140 กรัม

สบู่ที่ได้จากสูตรนี้จะเป็นสบู่แข็ง มีสีขาวและให้ฟองมาก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีผิวธรรมดาและผิวมัน หลังจากนำออกจากพิมพ์ ตั้งทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์จึงนำไปใช้

นมแพะ Goat milk

น้ำนมแพะนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งช่วยบำรุงหล่อเลี้ยงร่างกายของเราได้ทั้งภายนอกและภายใน น้ำนมแพะถูกใช้ในการบำรุงรักษาผิวพรรณให้ชุ่มชื้น สดใส สวยงามมานานแล้ว

ในวงการเครื่องสำอางจะถือว่า น้ำนมแพะเป็นไลโปโซมธรรมชาติ ( Natural Liposomes) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยนำเอาความชุ่มชื้น โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ซึมสู่ชั้นผิวหนังชั้นล่างได้ง่ายและดีขึ้น น้ำนมแพะจึงเป็นสารจากธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ เช่น สบู่ ครีม โลชั่น เป็นต้น

รวบรวมโดย วรพจน์ คงแก้ว ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ทุ่งสง )

By : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=agrinat&am